วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง/แยกทาง (Moving Average Convergence/Divergence - MACD)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง/แยกทาง (Moving Average Convergence/Divergence - MACD)

Moving Average Convergence/Divergence (MACD) เป็น indicator ซึ่งเคลื่อนที่ตามเทรนด์ โดยบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาสองค่า
Moving Average Convergence/Divergence ส้รางขึ้นจากความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สำหรับ 26-period และ 12-period เพื่อการบ่งชี้จังหวะที่ได้เปรียบที่สุด, จึงมีการเพิ่มเส้นบอกสัญญาณ (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 9-period) ใน MACD
MACD เหมาะสำหรับการใช้ในตลาดที่มีการแกว่งตัวสูง Moving Average Convergence/Divergence มักส่งสัญญาณหากเกิดการตัดกัน (crossing) หรือ การลู่ออกจากกัน (divergence) ในตลาดที่มีภาวะ overbought/oversold

การตัดกัน (crossing)

กฎพื้นฐานในการเทรด MACD อยู่บนพื้นฐานของการตัดกันของ indicator กับเส้นบอกสัญญาณ เมื่อ MACD ลงต่ำกว่าเส้นบอกสัญญาณ เป็นจังหวะในการขาย เมื่อ MACD ขึ้นสูงกว่าเส้นบอกสัญญาณ เป็นจังหวะในการซื้อ ซื้อหรือขายเมื่อ MACD อยู่เหนือหรืออยู่ต่ำกว่าศูนย์

ภาวะ Overbought/oversold

การลู่เข้า/การลู่ออกเฉลี่ย (Average Convergence/Divergence) เป้นประโยชน์ในการบ่งชี้ภาวะ overbought/oversold เมื่อ MACD ปรับเพิ่มขึ้น, นั่นหมายความว่าราคานั้นแพง (overvalued) และกำลังจะกลับสู่ระดับที่เป็นจริงในไม่ช้า

การลู่ออกจากกัน (divergence)

การบ่งบอกว่าเทรนด์ในปัจจุบันกำลังจะสิ้นสุดลงเกิดขึ้นเมื่อ MACD เบนออกจากราคา ภาวะ Bullish divergence เกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดสูงสุดใหม่และในขณะเดียวกัน Moving Average Convergence/Divergence ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ ภาวะ Bearish convergence เกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดต่ำสุดใหม่และ MACD ไม่สามารถทำจุดต่ำสุดใหม่ได้ Divergence ทั้งสองประเภทมีนัยสำคัญหากเกิดขึ้นในบริเวณ overbought/oversold
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ Oscillator (OsMA) – หมายถึง ความแตกต่างระหว่าง oscillator และการปรับเรียบของ oscillator (oscillator smoothing) ในกรณีนี้, เส้น MACD หลักใช้เป็น oscillator และ เส้นบอกสัญญาณใช้เป็นการปรับเรียบของ oscillator (oscillator smoothing)

การคำนวณ MACD

MACD คำนวณโดยการลบ 26-period exponential moving average ออกจาก 12-period exponential moving average จากนั้น, plot เส้นไข่ปลาสำหรับ 9-period simple moving average ของ MACD (เส้นบอกสัญญาณ) ไว้เหนือเส้น MACD
MACD = EMA(CLOSE, 12)-EMA(CLOSE, 26)
SIGNAL = SMA(MACD, 9)
Where: EMA - the Exponential Moving Average;
SMA - the Simple Moving Average;
SIGNAL - เส้นบอกสัญญาณของ indicator

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index - RSI)

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index - RSI)

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index - RSI) เป็นดัชนีที่ตามราคาซึ่งมีระดับดัชนีตั้งแต่ 0 ถึง 100 RSI สร้างขึ้นโดย Wilder ซึ่งเขาแนะนำให้ใช้ 14-day RSI เมื่อเวลาผ่านไป, 9-day และ 25-day RSI ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน หนึ่งในวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ RSI ที่นิยมคือการมองหา divergence โดยที่ราคาสร้างจุดสูงสุดใหม่และ RSI ไม่สามารถผ่านจุดสูงสุดเดิมได้ divergence ดังกล่าวเป็นสัญญาณของการกลับตัวที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า หาก RSI กลับตัวลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม นั่นหมายความว่า RSI ได้จบรอบของ "การแกว่งของราคาที่ล้มเหลว" การแกว่งของราคาที่ล้มเหลว (failure swing) เป็นสัญญาณยืนยันการกลับตัวที่กำลังจะเกิดขึ้น
Relative Strength Indexes แบ่งได้ดังนี้:
จุดสูงสุดและจุดต่ำสุด Relative Strength Index มักอยู่ในระดับที่สูงกว่า 70 และต่ำกว่า 30 ดัชนีนี้มักนำการสร้างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดในกราฟราคา
รูปแบบกราฟ RSI มักสร้างรูปแบบกราฟ เช่น รูปแบบหัวและไหล่ (head and shoulders) หรือ รูปแบบสามเหลี่ยม (triangles) ซึ่งอาจมองเห็นได้ในกราฟราคา;
การแกว่งของราคาที่ล้มเหลว - Failure swing (การทะลุหรือการเบรคแนวรับหรือแนวต้าน) กรณีนี้หมายถึงการที่ RSI ขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุดเดิม หรือ ลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม;
ระดับแนวรับและแนวต้าน ระดับแนวรับและแนวต้านเห็นได้ชัดในกราฟ Relative Strength Index มากกว่าในกราฟราคา
Divergences Divergences เกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดสูงสุด (หรือต่ำสุด) ใหม่ แต่ไม่ได้ยืนยันโดยจุดสูงสุด (หรือต่ำสุด) ใหม่ในกราฟ Relative Strength Index ราคามักเกิดการกลับตัวและเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับ RSI

การคำนวณ

RSI = 100-(100/(1+U/D))
โดยที่:
U - หมายถึง จำนวนเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาที่เป็นบวก;
D - หมายถึง จำนวนเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาที่เป็นลบ

ADX: คำอธิบาย, การตั้งค่า และการใช้งาน

ADX: คำอธิบาย, การตั้งค่า และการใช้งาน

ดัชนีการเคลื่อนที่ตามทิศทางโดยเแลี่ย(ADX) เป็นตัวบ่งชี้ชี้นำที่จะตรวจวัดเกี่ยวกับความแข็งแรงของแนวโน้มว่าเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีการเปิดการเทรดและ ช่วยให้ทำการกำหนด ว่าแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงหรือจะยังคงเดินหน้าต่อไป โดยตัวบ่งชี้ชนิดนี้ได้ถูกพัฒนามาจากJ. Welles Wilder โดยที่เขาได้อธิบายไว้ในหนังสือ New Concepts in Technical Trading Systems
ADX เป็นส่วนประกอบของตัวบ่งชี้ทั้งสองนั้นก็คือ ตัวบ่งชี้ทิศทางในเชิงบวก 14ช่วง และตัวบ่งชี้ทิศทางในเชิงลบ (-DI) เส้นตัวบ่งชี้ ADX จะถูกสร้างมาคู่กับกราฟ +DI และ –DI สำหรับตัวบ่งชี ADX จะประกอบไปด้วยสามเส้น ที่จะแสดงให้เห็นถึง ทิศทางและความแข็งแรงของแนวโน้ม :
  • +DI จะแสดงถึงการเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน
  • -DI จะแสดงถึงการเคลื่อนที่ลงด้านล่าง
  • ADX จะแสดงสภาวะในตลาดตอนปัจจุบัน (แนวโน้มหรือ ระยะของการเทรด )
ตัวบ่งชี้ ADX จะถูกสร้างขึ้นในแพลตฟอร์มMetaTrader ทุกประเภท
หาก +DI อยู่เหนือกว่า –DI ราคาก็จะเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน และถ้าหาก –DI อยู่เหนือกว่า +DI ราคาก็จะเคลื่อนที่ลงด้านล่าง
ส่วนถ้า +DI อยู่เหนือกว่า –DI ก็จะสร้างสัญญาณการซื้อออกมา และถ้า –DI อยู่เหนือกว่า +DI ก็จะสร้างสัญญาณการขายออกมา หากเส้นเหล่านี้ตัดผ่านกัน แสดงว่าแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลง
ในการลดสัญญาณที่ผิดพลาด คุณ Wilder ได้นำเสนอกฎของระดับสูงสุดออกมา จากจุดหนึ่งๆที่แสดงให้เห็นว่ามีการบรรลุราคาในระดับสูงสุด เมื่อ +DI และ –DI ตัดผ่านกัน ในกรณีที่ +DI ได้เคลื่อนตัวอยู่เหนือกว่า –DI ระยะสุงสุดก็จะเป็นระดับราคาสูงของรอบวัน เมื่อเส้นได้ตัดผ่านกัน หากเส้น +DI ได้ลดลงไปต่ำกว่า –DI ระดับสูงสุดก็จะเป็นระดับต่ำในระหว่างวันไป
ส่วนอื่นในระดับสูงสุดจะถูกใช้ เป็นจุดในช่วงเข้าตลาด ตัวอย่างเช่น เมื่อ +D อยู่เหนือกว่า –DI ก็รอจนกว่าราคาได้เคลื่อนตัวทะลุผ่านเหนือระดับสูงสุด และเมื่อมีการเปิดการเทรดที่มีสิทธ์ซื้อ ห่ากราคาปรับตัวลงทะลุระดับสูงไปนั้น ก็จะยังอยู่ในระดับด้านล่าง
ตัวบ่งชี้ ADX เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดสำหรับการกำหนดสภาวะตลาดในปัจจุบัน โดยใช้ในการค้นหากความแข็งแกร่งของแนวโน้ม และช่วงการตักตวงผลกำไร
ดัชนีการเคลื่อนที่ตามทิศทางโดยเแลี่ย  - ADX

การคิดคำนวณ

ADX = SUM[(+DI-(-DI))/(+DI+(-DI)), N]/N
โดยที่:
N - เป็นจำนวนของระยะเวลาที่ใช้ในการคิดคำนวณ

envelopes ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่: คำอธิบาย, การปรับแต่ง และการใช้งาน

envelopes ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่: คำอธิบาย, การปรับแต่ง และการใช้งาน

envelope นั้นเป็นตัวบ่งชี้ทางเทคนิคที่ถูกสร้างขึ้นมาจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งสอง ที่ได้เคลื่อนตัวอยู่เหนือและต่ำกว่าระดับของราคา โดยเส้นด้านบนและเส้นด้านล่างจะแนกออกจากระดับราคาตามระยะทางที่กำหนดไว้จากพื้นฐานของความผันผวนในตลาด ยิ่งมีระยะทางมากเท่าไหร่ ตัวบ่งชี้ envelopes ก็จะยิ่งถูกใช้สำหรับการสร้างช่องทางที่ขยายตัวได้ภายในความผันผวนของราคาที่มากที่สุด
เมื่อราคาได้ขยับตัวถึงจุดกำหนดด้านบน ก็จะมีสัญญาณปรากฏออกมาให้ทำการขาย เมื่อปรับตัวลงจุดกำหนดในด้านล่าง ก็จะมีสัญญาณปรากฏออกมาให้ทำการซื้อ
ตัวบ่งชี้ envelope จะช่วยในการกำหนดการเคลื่อนไหวของราคาเพิ่มเติมตามหลักการดังต่อไปนี้ หลังงจากมีความผันผวนเกิดขึ้นมา ราคาก็มักจะย้อนกลับไปอยู่ในแนวโน้มหลัก สำหรับเทรดเดอร์หลายคนอาจจะเชื่่อว่า ตัวบ่งชี้นี้เป็นส่วนที่เปลี่ยนมาจากแนวเส้น Bollinger Bands ที่รู้จักกันดี แต่ถึงอย่างไรก็จาม ตัวบ่งชี้ทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันโดยหลักแล้ว โดยที่ยิ่งราคาออกจากช่องทางมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เทรดเดอร์ทำลกำไรได้มากขึ้น และยิ่งใกล้เข้ามาตอนที่ราคาจะย้อนตัวไปในระดับก่อนหน้านี้
แถบคลุม

การคิดคำนวณ

Upper Band = SMA(CLOSE, N)*[1+K/1000]
Lower Band = SMA(CLOSE, N)*[1-K/1000]
โดยที่:
SMA - ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา;
N - ระยะเวลาโดยเฉลี่ย;
K/1000 - มูลค่าของการเปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ย (มาจากจุดพื้นฐาน)

Williams` Percent Range - %R

Williams` Percent Range - %R

ตัวชี้วัดทางเทคนิค Williams` Percent Range (%R) เป็น indicator ที่มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ (dynamic) ซึ่งใช้ในการกำหนดสภาวะตลาดว่าอยู่ในเขต overbought หรือ oversold Williams` Percent Range และ Stochastic Oscillator มีความคล้ายกันอยู่มาก ความแตกต่างเดียวที่มีคือ Williams Percent Range มีสเกลแบบกลับหัวกลับหาง (upside down scale) และ Stochastic Oscillator มีการปรับเรียบภายใน (internal smoothing)
ค่าของ Indicator ที่อยู่ในช่วงระหว่าง 80 และ 100% แสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในภาวะ oversold ค่าของ Indicator values ที่อยู่ในช่วงระหว่าง 0 และ 20% แสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในภาวะ overbought เมื่อ indicator อยู่ในสเกลแบบกลับหัวกลับหาง (upside down scale), ค่าของมันมักมีเครื่องหมายลบ (ตัวอย่างเช่น -30%) ในการวิเคราะห์, ให้มองข้ามเครื่องหมายลบนั้นไป
Indicator ทุกตัวที่ใช้บ่งชี้ภาวะ overbought/oversold (overbought/oversold indicator) จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อหนึ่ง: เทรดตามสัญญาณเมื่อราคาเกิดการกลับตัว ตัวอย่างเช่น หาก overbought/oversold indicator แสดงให้เห็นถึงภาวะ overbought, ควรรอจนกระทั่งราคากลับตัวลงก่อนดำเนินการส่งคำสั่ง Sell
Williams Percent Range indicator สามารถคาดการณ์การกลับตัวของราคาได้ Indicator นี้มักทำจุดสูงสุดและกลับตัวเป็นทิศทางขาลงไม่กี่วันก่อนที่ราคาจะขึ้นถึงจุดสูงสุดและกลับตัวลง ดังนั้น, Williams Percent Range จะสร้างรูปแบบขาลงและกลับตัวขึ้นไม่กี่วันก่อนที่ราคาจะเพิ่มขึ้น

การคำนวณ

ด้านล่างนี้เป็นสูตรที่ใช้ในการคำนวณ %R indicator ซึ่งคล้ายกับสูตรคำนวณ Stochastic Oscillator: %R = (HIGH(i-n)-CLOSE)/(HIGH(i-n)-LOW(i-n))*100
โดยที่:
CLOSE - หมายถึง ราคาปิดของวันนี้;
HIGH(i-n) - หมายถึง ราคาสูงสุดของช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา (n);
LOW(i-n) - หมายถึง ราคาต่ำสุดของช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา (n)

ดัชนีการไหลของกระแสเงิน (Money Flow Index - MFI)

ดัชนีการไหลของกระแสเงิน (Money Flow Index - MFI)

Money Flow Index - MFI บ่งบอกถึงความหนาแน่นของเงินที่ลงทุนในหลักทรัพย์ การสร้างและการตีความดัชนีคล้ายกับดัชนี Relative Strength Index (RSI) ความแตกต่างเดียวที่มีคือ MFI นำปริมาณการซื้อขายเข้ามาพิจารณาด้วย
การวิเคราะห์ดัชนีการไหลของกระแสเงิน (Money Flow Index) สามารถตีความได้ดังนี้:
การลู่ออก (Divergence) ระหว่าง indicator และการเคลื่อนที่ของราคา หากราคาเพิ่มขึ้นและ Money Flow Index ลดลง (หรือในทางกลับกัน) มีความเป็นไปได้สูงสำหรับการกลับตัวของราคา;
ค่า Money Flow Index ที่สูงกว่า 80 และต่ำกว่า 20 เตือนให้เห็นถึงจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดที่อาจเกิดขึ้นในตลาด

การคำนวณ

การคำนวณ Money Flow Index ประกอบด้วยหลายขั้นตอน ในขั้นต้น, ต้องกำหนดราคาปกติ (TP) สำหรับช่วงเวลาใดๆ
TP = (HIGH + LOW + CLOSE)/3
จากนั้น, คำนวณจำนวนกระแสเงิน (MF):
MF = TP * VOLUME
หากราคา TP ของวันนี้มากกว่าราคา TP ของเมื่อวาน, กระแสเงินถือว่าเป็นบวก หากราคา TP ของวันนี้น้อยกว่าราคา TP ของเมื่อวาน, กระแสเงินถือว่าเป็นลบ
กระแสเงินที่เป็นบวก (Positive Money Flow - PMF) หมายถึงผลรวมของกระแสเงินที่เป็นบวกสำหรับช่วงเวลาที่เลือก กระแสเงินที่เป็นลบ (Negative Money Flow - NMF) หมายถึงผลรวมของกระแสเงินที่เป็นลบสำหรับช่วงเวลาที่เลือก
จากนั้น, คำนวณอัตราส่วนเงิน (money ratio - MR) โดยการหารกระแสเงินที่เป็นบวกด้วยกระแสเงินที่เป็นลบ:
MR = กระแสเงินที่เป็นบวก (Positive Money Flow - PMF)/กระแสเงินที่เป็นลบ (Negative Money Flow - NMF)
และขั้นสุดท้าย, คำนวณดัชนีการไหลของกระแสเงิน (Money Flow Index - MFI) โดยใช้ money ratio:
MFI = 100 - (100 / (1 + MR))

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง/แยกทาง (Moving Average Convergence/Divergence - MACD)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง/แยกทาง (Moving Average Convergence/Divergence - MACD) Moving Average Convergence/Divergen...